ภาคใต้


 การแต่งกายภาคใต้ 

ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย
ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
การแต่งกายของชาวใต้



วัฒนธรรม

 วัฒนธรรมประเพณี 
        ประชากรทางใต้ประกอบด้วยชุมชนชาวไทย-พุทธ และ ชุมชนชาวไทย-มุสลิม โดยพื้นที่ตอนบน นับจากชุมพรไปถึง พัทลุง ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยนับถือ
  พุทธศาสนา ส่วนทางพื้นที่ตอนล่างส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู (ไทย-มุสลิม)
 
  ประเพณีที่สำคัญมีดังนี้
 
  ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือ
  ลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงาน
  เพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่ในพื้นที่ที่ห่างไกล
  แม่น้ำ  ก็จะจัดพิธีทางบก
                                                                   

No comments:

Post a Comment